Social Icons

Featured Posts

วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เขาคิชฌกูฏ

"เขาคิชฌกูฏ"























       ยอด "เขาคิชฌกูฏ" ตั้งอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ ต.พลวง กิ่ง อ.เขาคิชฌกูฏ จ.จันทบุรี เขาคิชฌกูฏเป็นที่ประดิษฐานของรอยพระพุทธบาทที่อยู่สูงที่สุดในประเทศไทย สูงกว่า 1,050 เมตร จากระดับน้ำทะเล ถือว่าสูงที่สุดในเขตอุทยานแห่งชาติเขาคิชฌกูฏ "รอยพระพุทธบาท" มีลักษณะเป็นรอยบนหินแผ่นใหญ่ มีรอยลึกประมาณ 2 เมตรเศษ กว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร ค้นพบที่ยอดเขาพระบาทห่างจากที่ทำการอุทยานเขาคิชฌกูฏราว 4 กม.


          ที่มาของชื่อเขาคิชฌกูฏนั้น ในตำนานศาสนาพุทธกล่าวไว้ว่า เขาคิชฌกูฎอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของกรุงราชคฤห์ แคว้นมคธเป็นยอดเขาที่มีแนวเขาล้อมโดยรอบ และเคยเป็นสถานที่ประทับของพระพุทธเจ้าในอดีต เป็นความดำริของพระครูธรรมสรคุณซึ่งเป็นกรรมการและเป็นหลักในการพัฒนาพระบาทพลวงตั้งแต่ พ.ศ. 2515 ได้เสนอใช้ชื่อ พระบาทเขาคิชฌกูฎ (พลวง) เหตุผลเพราะเมืองไทยเป็นเมืองพุทธที่พุทธศาสนาเจริญกว่าเมืองไหนๆ แม้กระทั่งประเทศอินเดีย โดยสภาพภูมิประเทศคล้ายคลึงและบนยอดเขามีสิ่งศกดิ์สิทธิ์ที่เกี่ยวกับพระพุทธองค์ คือ รอยพระพุทธบาท และหินลูกบาตร ที่ตั้งข้างรอยพระพุทธบาท อยู่ในลักษณะคล้ายลอยอยู่ริมลานพระพุทธบาทฝั่งตรงข้ามหินลูกบาตรมีรอยพระหัตถ์ไปรับหินก้อนนี้ และในหินก้อนนี้ ตรงข้ามกันรอยพระหัตถ์ มีรูปรอยเท้าใหญ่ (รอยเท้าพญามาร) ใต้พระบาทมีถ้ำตาฤาษี จึงน่าจะใช้ชื่อนี้เป็นที่ระลึกถึงพระบรมศาสดา ในทุกๆ ปีจะมีพิธีเปิดและพิธีปิดการขึ้นไปนมัสการรอยพระพุทธบาทเป็นประจำทุกปี นอกจากนี้ พระครูธรรมสรคุณ ยังได้สอนว่า



"เท้าของพระพุทธองค์ แม้ประดิษฐานอยู่แห่งหนตำบลใดก็ตาม ถ้าเรามีความเชื่อมั่น เคารพกราบไหว้ด้วยใจ อธิษฐานแล้วย่อมเกิดผลสำเร็จแก่ผู้นั้นทุกคนและเป็นสิริมงคลแก่ผู้นั้นตลอดไป" แต่ต้องตั้งจิตอธิษฐานให้ดี ปราถนาสิ่งใดที่ดีที่ชอบขอได้ตามความพอใจ กลับไปจะมีแต่ความปลอดภัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายและเทพยดาที่รักษารอยพระพุทธบาทแห่งนี้ จะอำนวยอวยพรให้ท่านได้รับแต่ความสขตามสมบูรณ์พูลผล ร่มเย็นเป็นสุขตลอดไป






















       ซึ่งผู้อยากจะขึ้นไปสักการะบูชาสิงศักดิ์สิทธิ์บนยอดเขานั้นจะต้องมีจิตศรัทธาที่แรงกล้า เนื่องจากต้องเดินเท้าขึ้นสู่ยอดเขาอีกราว 3 กม. ท่ามกลางผู้คนที่มีศรัทธาเดียวกันมากมายที่เบียดเสียด เพราะการจะขึ้นไปนมัสการรอยพระพุทธบาท เขาคิชฌกูฏ จะเริ่มตั้งแต่วันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 3 ของทุกปี หรือช่วงช่วงประมาณปลายเดือนมกราคม - เดือนมีนาคม (ในปีนี้ คือระหว่างวันที่ 31 มกราคม - 24 มีนาคม 2557) หรือแค่ประมาณ 2 เดือนต่อปีเท่านั้น จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากพุทธศาสนิกชนมากมายจากหลายที่ต่างถิ่น จะพร้อมใจกันมาสักการะบูชาแผ่นหินซึ่งเชื่อว่าประทับรอยพระพุทธบาทไว้ จะได้อานิสงส์แรงกล้า เปรียบได้กับการได้เข้าเฝ้าองค์พระศาสดาถือเป็นกุศลอันยิ่งใหญ่




















       

        ปัจจุบันได้มีการจัดเดินป่าขึ้นยอดเขาคิชฌกูฏ เพื่อไปสักการะบูชารอยพระพุทธบาทจนกลายเป็นงานประเพณีที่ปฏิบัติสืบทอดกันมานาน โดยมีความเชื่อว่าจะได้บุญสูง และเป็นการฝึกจิตใจให้มีความอดทน ไม่ย่อท้อต่อความยากลำบาก...ในอดีตจะเป็นการเดินเท้าขึ้นสู่ยอดเขา แต่ในปัจจุบันมีรถบริการให้ประชาชน ได้เดินทางขึ้นไปนมัสการรอยพระพุทธบาทแห่งนี้ได้สะดวกยิ่งขึ้น






















เรื่องเล่าความลี้ลับของผู้ที่หลบหลู่ความศักดิ์สิทธิ์ของเขาคิชฌกูฏ
       พระครูธรรมสรคุณ (ท่านพ่อเขียน) เล่าว่า "พวกที่ไปด้วยไม่ศรัทธาจะถูกรุกขเทวดาที่ปกปักรักษารอยพระพุทธบาทเขาคิชฌกูฏลงโทษบ่อย ๆ ทุกปี" ดังกรณี ปี 2513  มีชนศาสนาอื่นมาจากจังหวัดระยองขึ้นเขาพระบาทเพื่อไปเที่ยวสนุกกับเพื่อน เพื่อนๆพากันนมัสการรอยพระพุทธบาท แต่เขาไม่และหัวเราะเยาะเพื่อนว่า หลงไปกราบหิน กราบรอยอะไรก็ไม่รู้ และไม่ถอดรองเท้าเมื่อเข้าไปลานพระพุทธบาท เขารู้สึกง่วงไปนอนบนลานหินทางทิศใต้ของรอยพระพุทธบาทและหลับไป และผันว่าวิ่งลงมาจากที่สูงแต่ที่จริงใช้หลังวิ่งกลิ้งลงไป หัวกระแทกหินแตกหลายแผล สลบไปหลายชั่วโมง
        อีกรายหญิงสาววัยรุ่นไม่เคารพปูชนียสถานเข้าไปลานพระพุทธบาทโดยไม่ถอดรองเท้า ขณะนั้นเองค์เทวดาที่รักษาองค์พระพุทธบาท บัลดาลให้ลมพัดอย่างแรง พัดพาร่างหญิงสาวปลิว ทรงกายไม่อยู่เสียหลักไปชนหินสลบไป
       สองกรณีเป็นเรื่องเกิดขึ้นนานแล้ว แต่ยังมีผู้ไม่รู้และไม่ศรัทธายังลบหลู่ปูชนียสถาน นึกว่าเป็น "ที่ท่องเที่ยว" ขึ้นไปลานพระพุทธบาทเพื่อความสนุกสนาน ซึ่งทำให้เกิดผลร้ายอยู่เนื่องๆ ขึ้นไปถึงลานพระพุทธบาทจงทำแต่ความดีทั้งกายใจและจิตส่งกระแสไปยังพระพุทธองค์อุปมาเหมือนท่านยังทรงมีชีวิต ประทับอยู่ต่อหน้าผู้ไปนมัสการ






















ข้อปฏิบัติในการเดินทางขึ้นไปนมัสการรอยพระพุทธบาทบนยอดเขาคิชฌกูฏ
1. ไหว้พระบาทจำลอง ที่ต้นศรีมหาโพธิ์
2. ขึ้นศาลาไหว้พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ 9 องค์ ปิดทองรูปใด ขอพรขอบารมีรูปนั้นให้ครบ 9 ครั้ง
3. จุดเทียนธูป หน้าห้องกระจก ตั้งสัจจะขอในสิ่งที่เราต้องการต่อหน้าสังขาร พระครูพุทธบทบริบาร
(หลวงพ่อนัง)
4. ประพรมน้ำพุทธมนต์ ให้เป็นสิริมงคลก่อนขึ้นเขา
5. ตั้งสัจจะ ขอที่พระอภิบาลมงคลพุทธไสยาสน์
6. จุดเปลี่ยนรถที่ 1 ไหว้เจดีย์กลางเขา เจ้าแม่กวนอิม, พระพรหม, พระพิฆเนศวร, แม่โพสพ, บาตรแห่งมหาโชคลาภ
7. เปลี่ยนรถที่ 2 ไหว้พระสิวลี พระแม่ธรณีบีบมวยผมพระนอน, พระมาลัย
8. ท้าวเวสสุวรรณ, ท้าวพิเภก, พระพิฆเนศวร, แม่ธรณีบีบมวยผม แล้วเคาะระฆัง 2 ข้างทาง
9. สิ่งมหัศจรรย์ รอยเสือใหญ่, รอยกวางทอง, พระศิวะ, พระนาคปรก
10. จุดพักขึ้นประตูสวรรค์ ไหว้พระป่าเรไร, ถวายสังฆทาน, ไหว้พระพรหม แล้วเคาะระฆังขึ้นสวรรค์
11. ไหว้หมอชีวกโกมารภัทร, ฆ้อง, ธรรมจักร, นมัสการรอยพระบาท, เจ้าแม่กวนอิม, ท้าวมหาพรหมวิหาร(กองอำนวยการ)
12. ลานอินทร์ เป็นลานที่พระอินทร์ลงมาประทับที่สถานที่แห่งนี้ เลยนำรูปท่านมาประดิษฐานไว้ที่นี่ และมีผู้อธิษฐานขอแล้วประสบความสำเร็จในเรื่องเนื้อคู่, ที่อยู่อาศัย, ไหว้เทพเทวดา, สักการะบูชาพระบรมสารีริกธาตุ, พระปิยมหาราช, สมเด็จพระพุฒาจารย์โต (พรหมรังษี) ด้านข้างเป็นจุดชมวิวสวยงามมากเป็นหุบเขาที่เขียวชอุ่ม มีเขื่อนเก็บน้ำ ลานจอดเฮลิคอปเตอร์
13. นมัสการพระสิวลี, พระพิฆเนศวร
14. ปิดทอง ขอพรจากลูกแก้วสารพัดนึก
15. สักการะบาตรพระอานนท์ (บาตรใหญ่) ลานบายศรี เป็นที่บูชาเทพ
16. สักการะบาตรพระสิวลี บาตรแห่งความร่ำรวย
17. ไหว้แม่นางตะเคียน ให้โชคให้ลาภ
19. ลานพรหมบรรทม เป็นสถานที่พระพรหมบรรทม ควรไหว้พระและสวดมนต์บูชาพระพรหมบาตรพระโมคคัลลานะ อยู่ใกล้กับลานพรหมบรรทม
20. บาตรพระสารีบุตร และผ้าแดง เป็นสถานที่เดียวกับผ้าแดง ให้เขียนชื่อ นามสกุล บ้านเลขที่บนผ้าแดงแล้วอธิษฐานจิตตามปรารถนา




วัดพระแม่ปฏิสนธินิรมล ( โบสถ์วัดคาทอลิก )



วัดพระแม่ปฏิสนธินิรมล ( โบสถ์วัดคาทอลิก )


ประวัติ

ในปี ค.ศ. 1707 (พ.ศ. 2250) พระสังฆราช เดอ ชีเช  ซึ่งเป็นประมุขพระศาสนจักรแห่งสยาม อันมีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา ทราบข่าวว่ามีคาทอลิกกลุ่มเล็กๆกลุ่มหนึ่งที่จันทบุรี คนเหล่านี้เป็นคนญวนหรือเวียตนามที่ลี้ภัยมาอยู่ในดินแดนกรุงสยาม  ท่านจึงส่งคุณพ่อเฮิ้ต (Heutte)  มิสชั่นเนอรี่ชาวฝรั่งเศสในอาณัติมาดูแลคาทอลิกกลุ่มนี้   แต่เณรชาวตังเกี๋ย 2 คนที่เดินทางมากับคุณพ่อถูกจับข้อหาว่าจะเดินทางออกพระราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต  ต้องโทษจำคุกระยะหนึ่ง เมื่อพ้นโทษแล้วคุณพ่อจึงได้เดินทางต่อมาถึงจันทบุรีในปี ค.ศ. 1711 (พ.ศ. 2254) คุณพ่อพบว่ากลุ่มคาทอลิกชาวญวนนั้นมีประมาณ 120-130 คน  จึงร่วมมือกันสร้างโบสถ์น้อยขึ้นหลังหนึ่งบนฝั่งขวา(ฝั่งตะวันตก)ของแม่น้ำจันทบุรี  บนเนินสูงริมฝั่งทางทิศใต้ของวัดจันทนารามประมาณ 200- 300 เมตร สันนิษฐานว่าเป็นที่ตั้งโบสถ์ในปัจจุบัน  หลังจากนั้นก็ได้มีการบูรณะซ่อมแซมเพิ่มเติม และสร้างขึ้นใหม่อีกหลายครั้งสรุปโดยย่อดังนี้




ค.ศ. 1711 คุณพ่อเฮิ้ต  เจ้าอาวาสองค์แรก 

ค.ศ. 1712 โบสถ์น้อยหลังแรกฝั่งตะวันตก

ค.ศ. 1753 โบสถ์น้อยฝั่งตะวันตกหลังที่ 2

ค.ศ. 1834 โบสถ์แรกฝั่งตะวันออก(หลังที่3) 

ค.ศ. 1855 โบสถ์หลังที่ 2 ฝั่งตะวันออก(หลังที่4)

ค.ศ. 1906 วางศิลาฤกษ์วัดหลังปัจจุบัน(หลังที่5)

ค.ศ. 1909 พิธีเสกวัดอย่างสง่างาม โดยคุณพ่อ 
กอลอมเบต์  คุณพ่อเปรีกาล ผู้อำนวยการสร้าง







          หลังจากพิธีเสกวัด  ก็ได้มีการติดตั้งนาฬิกาเรือนใหญ่ (เส้นรอบหน้าปัด 4.7 เมตร) บนหอสูง  และมีการติดตั้งส่วนประกอบต่างๆอีกคือปี ค.ศ. 1912-1914 (พ.ศ. 2455-2457) ติดตั้งกระจกสีเหนือหน้าต่าง และภาพนักบุญต่างๆ   ปี ค.ศ. 1921 (พ.ศ. 2464) ทำเพดานวัด  ปีค.ศ. 1926 (พ.ศ. 2469) มีพิธีเสกระฆัง 3 ใบ ใบใหญ่หนัก 650 กก. ใบกลางหนัก 325 กก. ใบเล็กหนัก 160 กก. ทั้ง 3 ใบติดตั้งบนหอสูงข้างเดียวกับที่ติดตั้งนาฬิกา   สรุปได้ว่ากว่าจะสร้างวัดหลังที่ 5 นี้เสร็จสมบูรณ์จริงๆในปี ค.ศ. 1926  รวมระยะเวลาในการสร้างทั้งหมดมากกว่า 200 ปี

สภาพโดยทั่วไป

ที่ตั้ง ตั้งอยู่ที่ 110 หมู่ 5  ต.จันทนิมิต อ.เมือง จ.จันทบุรี  มีแม่น้ำจันทบุรีไหลผ่านบริเวณด้านหน้า  ทางทิศเหนือของโบสถ์มีอาคารที่ใช้ประกอบกิจกรรมของวัดได้แก่ อาคารสันติสุข (ศาลาพักศพ)  เนิร์สเซอรี่ "ยอแซฟพิทักษ์"  และหอประชุมนิรมล   ทางด้านทิศใต้มีบ้านพักพระสงฆ์ ถ้ำจำลองแม่พระเมืองลูร์ด อาคารแพร่ธรรม โรงเรียนสตรีมารดาพิพักษ์  และศูนย์กลางภคินีรักไม้กางเขน

การปกครอง   

อยู่ภายใต้การดูแลของพระสังฆราช  และคณะสงฆ์สังฆมณฑลจันทบุรี  มีเจ้าอาวาสที่เคยปกครองวัดนี้มามากกว่า 20 องค์

     ลักษณะการก่อสร้าง   
       มีลักษณะรูปแบบสถาปัตยกรรมตะวันตกซึ่งเรียกว่า "ศิลปะแบบโกธิค"  ตัวอาคารยาว 60 เมตร กว้าง 20 เมตร  มีหอแหลมสูงเด่นในตอนเริ่มแรกสร้าง ทั้งสองด้าน ต่อมาปี ค.ศ. 1940 (พ.ศ. 2483) ทางการสั่งให้รื้อออก เพราะเกรงว่าจะเป็นเป้าของระเบิดทางอากาศในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2  หอสูงด้านขวามีนาฬิกาเรือนใหญ่ติดตั้งอยู่ เส้นรอบหน้าปัดวัดได้ 4.70 เมตร จากหอสูงนี้สามารถมองเห็นทัศนียภาพของเมืองจันทบุรีได้ไกลประมาณ 2 กิโลเมตร

ศิลปะ   

วัดหลังนี้ได้รับการประดับประดาตกแต่งทั้งภายในและภายนอกด้วยศิลปะเก่าแก่อย่างสวยงาม มีคุณค่าทั้งทางด้านศิลปะ ด้านความสวยงาม และด้านของโบราณ (Antiques) ประกอบด้วยภาพกระจกสีที่เรียกว่า สเตนกลาส เป็นรูปของนักบุญหลายองค์ติดอยู่บริเวณเหนือพระแท่นบูชา และเหนือหน้าต่าง ทั้งทางด้านขวาและด้านซ้ายของสักการะสถาน กระจกสีเหล่านี้มีอายุรวม 100  ปี แต่สีสันยังเด่นชัด ไม่ลอกลบเลือนแต่อย่างใด นับว่าเป็นสิ่งงดงามหาค่ามิได้

นอกจากนี้บริเวณพระแท่นได้รับการตกแต่งแบบโกธิค พื้นปูด้วยหินอ่อน บริเวณเหนือพระแท่นบูชา มีรูปกางเขนและพระรูป พระนางมารีอาปฎิสนธินิรมล องค์ประธานของวัดตั้งตระหง่านอย่างงดงาม รวมทั้งรูปปั้นของนักบุญยออากิม และนักบุญอันนา บิดามารดาของพระนางมารีด้วย อาสนวิหารแห่งนี้ได้รับรางวัลอนุรักษ์อาคารดีเด่น ประจำปี 2542 จากสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชินูปถัมภ์






พระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

"พระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช"


       สมัยก่อนภาพพระราชานุสาวรีย์แห่งนี้ พิมพ์อยู่บนธนบัตร ใบละ ๒๐ บาทเป็นรูปทรงม้า พร้อมทหาร
คู่พระทัย ๔ คน ประดิษฐานเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๗  ที่ทุ่งนาเชย ปัจจุบันคือ สวนสาธารณะของจังหวัดจันทบุรีครับ ที่ทุ่งนาเชยนี้เป็นสวนสาธารณะที่สำคัญของจังหวัดจันทบุรีครับ ทุกๆปีก็จะมีงานวันตากสินรำลึก
ที่บริเวณรอบทุ่งนาเชย จังหวัดจันทบุรี


       สภาพภูมิทัศน์โดยรอบร่มรื่นสวยงาม มีการขุดบึงล้อมรอบซึ่งใช้เป็นที่พายเรือเล่น และยังใช้เป็นที่เพาะพันธุ์ปลาของประมงจังหวัดอีกด้วย เกาะกลางบึงประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงม้า พร้อมทหารคู่พระทัยทั้งสี่ คือพระเชียงเงิน หลวงพิชัยอาสา หลวงพรหมเสนา หลวงราชเสน่หา เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานสำหรับการกู้เอกราชของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชที่ทรง เลือกจันทบุรีเป็นที่รวบรวมกำลังพลในการกอบกู้กรุงศรีอยุธยา


       พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสิน ตั้ง อยู่ใจกลางเมือง เยื้องกับศาลากลางจังหวัด ริมถนนเลียบเนิน สร้างขึ้นเพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทรงเลือกเมืองจันทบุรีเป็น ฐานที่มั่นในการรวบรวมไพร่พลไปกอบกู้อิสรภาพ องค์พระบรมราชานุสาวรีย์ เป็นรูปสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงม้า ตั้งตระหง่านอยู่กลางทหารคู่พระราชหฤทัยทั้งสี่ คือ พระเชียงเงิน หลวงพิชัยอาสา หลวงพรมเสนา หลวงราชเสน่หา ประดิษฐานอยู่บนเกาะกลางบึง บริเวณโดยรอบมีการตกแต่งสภาพภูมิทัศน์เพื่อให้มีความร่มรื่นและสวยงาม ทุกช่วงเช้าเย็นจะมีประชาชนจำนวนมากนิยมมาออกกำลังกายและพักผ่อนหย่อนใจ เป็นที่พักผ่อนที่สวยงามอีกแห่งของจังหวัดจันทบุรี

       ที่อยู่ : ถนนท่าหลวง ตำบลวัดใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี
การเดินทาง : ตั้ง อยู่บนถนนท่าหลวง เยื้องกับศาลากลาง จังหวัด ริมถนนเลียบเนิน การเดินทางเริ่มจากสี่แยก ถ.ท่าหลวง ตัดกับ ถ.พระยาตรัง ขับตรงมาประมาณ 200 เมตร เข้าถนนเลียบเมือง สวนสาธารณะฯ จะอยู่ทางซ้ายมือ

       เวลาให้บริการ :  ภายในอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสิน  เปิดเวลา 08.30 น.- 20.00 น. , รอบนอกทะเลสาปทุ่งนาเชยเปิดตลอด 24 ชั่วโมง



แบบทดสอบ

แบบประเมิน

 
 
Blogger Templates